ACC School History
ประวัติและความเป็นมาของโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ

Bro Rogation

ภราดาโรเกชั่น

โรงเรียนได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2481 ผู้ก่อตั้งคือ ภราดาโรเกชั่น (Bro. Rogation) เนื่องจากขณะนั้นท่านสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ท่านมีความคิดที่จะฝึกเด็กให้มีความรู้ทางด้านวิชาชีพพิมพ์ดีดและ วิชาชวเลข เพื่อว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วเด็กนักเรียนซึ่งไม่ประสงค์จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยจะสามารถเข้าทำงานในบริษัทของ ชาวยุโรปได้ ท่านจึงจัดทำหลักสูตรสำหรับโรงเรียนพาณิชย์ขึ้นและขอเปิดโรงเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการสอน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการเป็นโรงเรียนพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดทำการสอนโดย ใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ภายใต้ชื่อ “อัสสัมชัญพาณิชย์”

Bro Rogation

ในสมัยเริ่มแรกนั้น ทางโรงเรียนรับเฉพาะนักเรียนชาย และมีการวางแนวนโยบายไว้อย่างชัดเจนในการฝึกฝนนักเรียน ทางด้านธุรกิจและภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับสถาบันธุรกิจต่างชาติในประเทศไทย กลยุทธ์ทางด้านการวางแนวนโยบายเหล่านี้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่จบการศึกษามีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาและวิชาธุรกิจเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการ ธุรกิจต่างชาติ ดังจะเห็นได้จากการที่นักเรียนชั้นปี 3 ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาถูกจองตัวล่วงหน้าจากสถานประกอบการธุรกิจต่างชาติและ องค์กรต่างประเทศ เช่น ยูเนสโก ESCAP และสถานทูตต่างๆ ฯลฯ แต่ถึงอย่างไรก็ตามนักเรียนเหล่านั้นก็ยังไม่สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 โรงเรียนได้รับอนุญาตจาก กระทรวงศึกษาธิการให้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจ 4 ปี ต่อมาได้พัฒนาเป็นวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (ABAC) หรือ
มหาวิทยาอัสสัมชัญ (AU) ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2516 โรงเรียนเริ่มเปิดรับนักเรียนหญิงเป็นปีแรกและกลายเป็นโรงเรียนสหศึกษาตั้งแต่นั้นมา หลักสูตรของโรงเรียนที่เปิดสอนอยู่ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับในวงการธุรกิจทั้งในและนอกประเทศ แต่มีข้อจำกัดในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากไม่ได้การรับรองความรู้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย กอปรกับถูกตัดสิทธิ์ในการเรียนวิชารักษาดินแดนโดยมีเหตุผลว่าเป็นโรงเรียนประเภท 15(2)

 

ปีการศึกษา 2525
  • ทางโรงเรียนได้ขออนุญาตเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร 3 ปี โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ" ทำให้นักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายและได้สิทธิ์เรียนวิชารักษาดินแดนด้วย

ปีการศึกษา 2530
  • โรงเรียนได้ขออนุญาตเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของกรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ Bro Rogationหลังจากโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการดำเนินการสอน โดยใช้หลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นเวลา 9 ปี (2525–2533) นักเรียนที่สำเร็จการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้รับการยอมรับจากวงการธุรกิจ ศิษย์เก่า ผู้ปกครองว่ายังคงรักษาเอกลักษณ์และคุณภาพเดิมไว้ ผู้บริหารจึงได้ตัดสินใจขอปิดโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ โรงเรียนประเภท 15(2) ในปี พ.ศ. 2533

ปีการศึกษา 2536
  • ขอเปลี่ยนแปลงการใช้หลักสูตร ปวช. จากเดิมใช้หลักสูตร ปวช. ของกรมอาชีวศึกษามาใช้หลักสูตร ปวช. ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

ปีการศึกษา 2539 Bro Rogation
  • โรงเรียนได้ขอเปิดแผนการเรียนการสอนที่ใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยเรียกว่า แผนการเรียน A และเรียกแผนการเรียนเดิมว่าแผนการเรียน B โดยให้นักเรียนเลือกเรียนได้ตามความประสงค์ของผู้เรียน
  • โรงเรียนสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง จัดให้มีการสอนภาษาจีนกลางขึ้นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษที่เปิดสอนมาแต่เดิม
  • สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการและบุคลากรในประเทศอังกฤษ Bromley College ในหลักสูตร Cambridge Business Skills (CBS) ซึ่งควบคุมโดย มหาวิทยาลัย Cambridge

ปีการศึกษา 2540
  • สร้างความร่วมทางวิชาการกับสถาบันอินเตอร์เทคโนโลยี
  • สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของรัฐ ประเทศออสเตรเลีย Chisholm Institute
  • ได้รับเกียรติเข้าร่วมโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยสอนภาษาจีนออกอากาศทางไกลผ่านดาวเทียม ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน

ปีการศึกษา 2542
  • สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยอีสเทิรน์ (14 มีนาคม พ.ศ. 2542)
  • สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (8 มีนาคม พ.ศ. 2542) โดยให้โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการเป็น PRE–ABAC
  • โรงเรียนได้รับการประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

ปีการศึกษา 2543
  • ขอเปลี่ยนแปลงหลักสูตรจากประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลมาใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของกรมอาชีวะ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาการขาย สาขาการบัญชี และสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปีการศึกษา 2544
  • ได้ลงนามทำสัญญาเพิ่มเติมกับมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง ร่วมมือกันในด้านวิชาชีพ โดยจะเปิดสอนภาษาจีน ธุรกิจในระดับปริญญาตรี เป็นเวลา 3 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง

ปีการศึกษา 2545
  • โรงเรียนร่วมมือกับมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง เรื่องการร่วมมือจัดทำหลักสูตรภาษาจีนด้านบริหารธุรกิจสำหรับ บุคคลทั่วไปในระดับปริญญาตรี และเปิดสำนักงานมหาวิทยาลัยและวัฒนธรรมปักกิ่ง สาขากรุงเทพฯ ณ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2545

ปีการศึกษา 2546
  • ฯพณฯ เอี้ยน ถิงอ้าย เอกอัครราชฑูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย นำคณะแต่งตำราภาษาจีน เพื่อการสอนภาษาจีนออกอากาศทางไกลผ่านดาวเทียม เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายตำราภาษาจีน โดยมีโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการและสมาคมหอการค้าไทย-จีน ให้การสนับสนุน

ปีการศึกษา 2548
  • ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ย้ายสำนักงานจากโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม มาอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ โดย ฯพณฯ เจิ้ง จิ้นกว๋อ อุปทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2548

ปีการศึกษา 2549
  • โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ได้รับอนุมัติจากมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ให้ยกระดับเป็นวิทยาลัย โดยขยายหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ซึ่งทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่า

ปีการศึกษา 2550
  • ทางมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ได้มีคำสั่งที่ 4/2550 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ โดยมอบหมายให้ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ปีการศึกษา 2551
  • โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้รับเกียรติให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน “ห้องเรียนขงจื่อ” โดยมีพิธีลงนาม เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ที่กระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนกับภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
  • ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ และสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์ ได้จัดงานฉลองครบรอบ 70 ปี โดยได้ทูลเชิญ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีงานกาล่าดินเนอร์ ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นการประกาศเจตนารมณ์ในการยกระดับวิทยฐานะของโรงเรียนเป็นวิทยาลัย หลักสูตรปริญญาตรี BBA (Bachelor of Business Administration) สาขาบริหารจัดการ

ปีการศึกษา 2552
  • เมื่อวันที่ 29–31 มกราคม พ.ศ. 2552 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบสอง จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งได้รับการรับรองมาตฐานการศึกษา ระดับคุณภาพ “ดีมาก” และเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ แถลงข่าวการเปิด “ACC School of Commerce ก้าวสู่พัฒนาการทางการศึกษาแนวใหม่” โดยเปิดหลักสูตรปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์

ปีการศึกษา 2553
  • โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้จัดงานฉลองการสถาปนาโรงเรียนครบรอบ 72 ปี โดยมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองตลอดปีการศึกษา อาทิ มิสซาบูชาขอบพระคุณฉลองการสถาปนาครบรอบ 72 ปี โดย พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี “กิจกรรม 72 ปี ACC FAIR” นอกจากนี้ ได้เปิดหลักสูตร
    ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์ (ACC School of Commerce) เต็มรูปแบบโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ปีการศึกษา 2554
  • โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์ จัดพิธีเสกและเปิดอาคารสำนักงานสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวานิช ประมุขอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นประธานในพิธี
  • สืบเนื่องจาก พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ที่ประกาศใช้และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551 โรงเรียนเอกชนที่ใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติใหม่ เพื่อให้การดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ทางโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ จึงได้จัดทำตราสารจัดตั้งโรงเรียนนิติบุคคล เพื่อเป็นหลักในการบริหารงานโดยใช้ชื่อตราสารนี้ว่า “ตราสารจัดตั้งนิติบุคคลโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ” ดังนั้น สำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนได้พิจารณา และเห็นชอบการใช้ตราสารดังกล่าว ตามเอกสาร ที่ ศธ ๐๒๑๑.๗/๗๐๙๙ เรื่อง ตราสารจัดตั้ง ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปีการศึกษา 2555
  • เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ เพื่อไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยแต่งตั้ง ภราดาอรุณ เมธเศรษฐ รองผู้อำนวยการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทน

ปีการศึกษา 2556
  • เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ และภราดาวิจารณ์ แสงหาญ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ/ผู้จัดการ

ปีการศึกษา 2557
  • โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หน่วยงานต้นสังกัด และเมื่อวันที่ 20–22 มกราคม พ.ศ. 2557 โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ.
  • โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนฯ ตามเอกสาร (อช.3) เลขที่ใบอนุญาต กอ. 250/2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เรื่อง “ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา ส่วนที่ 2 หลักสูตรวิธีการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลการศึกษา” โดยให้สถานศึกษาใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ของกระทรวงศึกษาธิการ (พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป

ปีการศึกษา 2558
  • โรงเรียนได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงาน
    โดยมีผู้บริหารมืออาชีพ นายสุรชัย สิทธิชัยวิจิตร เข้ามาบริหารงาน
  • วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการทางด้านส่งนักเรียนระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 2 เข้าฝึกงาน โครงการหลักสูตร ACC Business Prep School กับ 10 บริษัท ดังนี้
    1. บริษัท ทอมโก้ ออโตเมติก แมชชินเนอร์รี่ จำกัด
    2. บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน)
    3. บริษัท ธารธนา จำกัด
    4. บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีพโคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
    5. บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล กรุ๊ป จำกัด
    6. บริษัท ฟาติมา อาร์ บี ดี เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
    7. บริษัท โมเดอร์ฟอร์ม กร๊ป จำกัด (มหาชน)
    8. บริษัท เวเบอร์มาร์คกิ้ง ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
    9. บริษัท ศรีไทย ซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
    10. บริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ จำกัด

ปีการศึกษา 2559
  • เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ภราดาวิหาร ศรีหาพล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
    โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ภราดาวิจารณ์ แสงหาญ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ และ
    ภราดา ดร.พีระนันท์ นัมคณิสรณ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษางานอภิบาล
    และงานกิจการนักเรียน
  • มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานจาก 6 ฝ่าย เป็น 4 ฝ่าย ดังนี้
    • สำนักผู้อำนวยการ
    • ฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วย ฝ่ายวิชาการ และฝ่ายกิจการนักเรียน
    • ฝ่ายการเงินและบัญชี
    • ฝ่ายบริหารทั่วไป ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารทั่วไป และฝ่ายธุรการและทะเบียน
  • ได้รับผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับคุณภาพดีมาก ประจำปี พ.ศ. 2558
    จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
    เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558

ปีการศึกษา 2560
  • ภราดาวิหาร ศรีหาพล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
    และผู้จัดการ
  • ภราดา ดร.พีระนันท์ นัมคณิสรณ์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ
    และที่ปรึกษางานกิจการนักเรียนและงานอภิบาล
  • ได้เปิดแผนการเรียนภาษาจีน (โปรแกรม C) เป็นปีแรก
ปีการศึกษา 2561
  • ภราดาวิหาร ศรีหาพล ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการและผู้จัดการ
    และผู้จัดการ
  • ภราดา ดร. พีระนันท์ นัมคณิสรณ์ ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการและที่ปรึกษาด้านกิจการนักเรียน
  • โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการครบรอบ 80 ปี
    มีกิจกรรมพิเศษเพื่อการสถาปนาโรงเรียน ได้แก่
    1. งานแถลงข่าวฉลองครบรอบ 80 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
    2. พิธีบูชาขอบพระคุณในโอกาส ปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี โดย ฯพณฯ พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่
    3. จัดเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ อยากประสบความสำเร็จ “บริหารธุรกิจ” ต้องเรียนต่อที่ไหน
    4. กิจกรรมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 81 รูป
    5. กิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล ACC WALK&RUN 2018 ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย โครงการ "เรียนโกะ เก่งงาน รู้จัดการชีวิต" รุ่น 2 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการกับมหาวิทยาลัย Southwest University of Political Science and Law เมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ โครงการ “ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน” มีการจัดสร้างหอเกียรติยศ ACC Hall of Fame

จากอดีตถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 7 ทศวรรษ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการก็ยังคงเป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการผลิตนักธุรกิจทั้งชายและหญิง จนเป็นที่ยอมรับของวงการธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ แต่ถึงกระนั้นโรงเรียนก็ยังมุ่งพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อความก้าวหน้าทางการศึกษาของเยาวชนไทยสืบไป

ACC Business Prep School
อนาคตท่ีพร้อมก้าวไกลในโลกธุรกิจ