โรงเรียนได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2481 ผู้ก่อตั้งคือ ภราดาโรเกชั่น (Bro. Rogation) เนื่องจากขณะนั้นท่านสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ท่านมีความคิดที่จะฝึกเด็กให้มีความรู้ทางด้านวิชาชีพพิมพ์ดีดและ วิชาชวเลข เพื่อว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วเด็กนักเรียนซึ่งไม่ประสงค์จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยจะสามารถเข้าทำงานในบริษัทของ ชาวยุโรปได้ ท่านจึงจัดทำหลักสูตรสำหรับโรงเรียนพาณิชย์ขึ้นและขอเปิดโรงเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการสอน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ทำให้โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการเป็นโรงเรียนพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดทำการสอนโดย ใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ภายใต้ชื่อ “อัสสัมชัญพาณิชย์”
ในสมัยเริ่มแรกนั้น ทางโรงเรียนรับเฉพาะนักเรียนชาย และมีการวางแนวนโยบายไว้อย่างชัดเจนในการฝึกฝนนักเรียน ทางด้านธุรกิจและภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับสถาบันธุรกิจต่างชาติในประเทศไทย กลยุทธ์ทางด้านการวางแนวนโยบายเหล่านี้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่จบการศึกษามีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาและวิชาธุรกิจเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการ ธุรกิจต่างชาติ ดังจะเห็นได้จากการที่นักเรียนชั้นปี 3 ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาถูกจองตัวล่วงหน้าจากสถานประกอบการธุรกิจต่างชาติและ องค์กรต่างประเทศ เช่น ยูเนสโก ESCAP และสถานทูตต่างๆ ฯลฯ แต่ถึงอย่างไรก็ตามนักเรียนเหล่านั้นก็ยังไม่สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 โรงเรียนได้รับอนุญาตจาก กระทรวงศึกษาธิการให้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจ 4 ปี
ต่อมาได้พัฒนาเป็นวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (ABAC) หรือ
มหาวิทยาอัสสัมชัญ (AU) ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2516
โรงเรียนเริ่มเปิดรับนักเรียนหญิงเป็นปีแรกและกลายเป็นโรงเรียนสหศึกษาตั้งแต่นั้นมา
หลักสูตรของโรงเรียนที่เปิดสอนอยู่ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับในวงการธุรกิจทั้งในและนอกประเทศ แต่มีข้อจำกัดในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
เนื่องจากไม่ได้การรับรองความรู้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย กอปรกับถูกตัดสิทธิ์ในการเรียนวิชารักษาดินแดนโดยมีเหตุผลว่าเป็นโรงเรียนประเภท 15(2)
- ทางโรงเรียนได้ขออนุญาตเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร 3 ปี โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ" ทำให้นักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายและได้สิทธิ์เรียนวิชารักษาดินแดนด้วย
- โรงเรียนได้ขออนุญาตเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของกรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ หลังจากโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการดำเนินการสอน โดยใช้หลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นเวลา 9 ปี (2525–2533) นักเรียนที่สำเร็จการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้รับการยอมรับจากวงการธุรกิจ ศิษย์เก่า ผู้ปกครองว่ายังคงรักษาเอกลักษณ์และคุณภาพเดิมไว้ ผู้บริหารจึงได้ตัดสินใจขอปิดโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ โรงเรียนประเภท 15(2) ในปี พ.ศ. 2533
- ขอเปลี่ยนแปลงการใช้หลักสูตร ปวช. จากเดิมใช้หลักสูตร ปวช. ของกรมอาชีวศึกษามาใช้หลักสูตร ปวช. ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- โรงเรียนได้ขอเปิดแผนการเรียนการสอนที่ใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยเรียกว่า แผนการเรียน A และเรียกแผนการเรียนเดิมว่าแผนการเรียน B โดยให้นักเรียนเลือกเรียนได้ตามความประสงค์ของผู้เรียน
- โรงเรียนสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง จัดให้มีการสอนภาษาจีนกลางขึ้นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษที่เปิดสอนมาแต่เดิม
- สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการและบุคลากรในประเทศอังกฤษ Bromley College ในหลักสูตร Cambridge Business Skills (CBS) ซึ่งควบคุมโดย มหาวิทยาลัย Cambridge
- สร้างความร่วมทางวิชาการกับสถาบันอินเตอร์เทคโนโลยี
- สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของรัฐ ประเทศออสเตรเลีย Chisholm Institute
- ได้รับเกียรติเข้าร่วมโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยสอนภาษาจีนออกอากาศทางไกลผ่านดาวเทียม ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน
- สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยอีสเทิรน์ (14 มีนาคม พ.ศ. 2542)
- สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (8 มีนาคม พ.ศ. 2542) โดยให้โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการเป็น PRE–ABAC
- โรงเรียนได้รับการประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
- ขอเปลี่ยนแปลงหลักสูตรจากประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลมาใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของกรมอาชีวะ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาการขาย สาขาการบัญชี และสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- ได้ลงนามทำสัญญาเพิ่มเติมกับมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง ร่วมมือกันในด้านวิชาชีพ โดยจะเปิดสอนภาษาจีน ธุรกิจในระดับปริญญาตรี เป็นเวลา 3 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง
- โรงเรียนร่วมมือกับมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง เรื่องการร่วมมือจัดทำหลักสูตรภาษาจีนด้านบริหารธุรกิจสำหรับ บุคคลทั่วไปในระดับปริญญาตรี และเปิดสำนักงานมหาวิทยาลัยและวัฒนธรรมปักกิ่ง สาขากรุงเทพฯ ณ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2545
- ฯพณฯ เอี้ยน ถิงอ้าย เอกอัครราชฑูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย นำคณะแต่งตำราภาษาจีน เพื่อการสอนภาษาจีนออกอากาศทางไกลผ่านดาวเทียม เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายตำราภาษาจีน โดยมีโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการและสมาคมหอการค้าไทย-จีน ให้การสนับสนุน
- ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ย้ายสำนักงานจากโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม มาอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ โดย ฯพณฯ เจิ้ง จิ้นกว๋อ อุปทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2548
- โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ได้รับอนุมัติจากมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ให้ยกระดับเป็นวิทยาลัย โดยขยายหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ซึ่งทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่า
- ทางมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ได้มีคำสั่งที่ 4/2550 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ โดยมอบหมายให้ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
- โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้รับเกียรติให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน “ห้องเรียนขงจื่อ” โดยมีพิธีลงนาม เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ที่กระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีนกับภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
- ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ และสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์ ได้จัดงานฉลองครบรอบ 70 ปี โดยได้ทูลเชิญ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีงานกาล่าดินเนอร์ ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นการประกาศเจตนารมณ์ในการยกระดับวิทยฐานะของโรงเรียนเป็นวิทยาลัย หลักสูตรปริญญาตรี BBA (Bachelor of Business Administration) สาขาบริหารจัดการ
- เมื่อวันที่ 29–31 มกราคม พ.ศ. 2552 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบสอง จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งได้รับการรับรองมาตฐานการศึกษา ระดับคุณภาพ “ดีมาก” และเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ แถลงข่าวการเปิด “ACC School of Commerce ก้าวสู่พัฒนาการทางการศึกษาแนวใหม่” โดยเปิดหลักสูตรปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์
- โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้จัดงานฉลองการสถาปนาโรงเรียนครบรอบ 72 ปี
โดยมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองตลอดปีการศึกษา อาทิ มิสซาบูชาขอบพระคุณฉลองการสถาปนาครบรอบ 72 ปี
โดย พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี “กิจกรรม 72 ปี ACC FAIR”
นอกจากนี้ ได้เปิดหลักสูตร
ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ กลุ่มวิชาพาณิชยศาสตร์ (ACC School of Commerce) เต็มรูปแบบโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์ จัดพิธีเสกและเปิดอาคารสำนักงานสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญพาณิชย์ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวานิช ประมุขอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นประธานในพิธี
- สืบเนื่องจาก พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ที่ประกาศใช้และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551 โรงเรียนเอกชนที่ใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติใหม่ เพื่อให้การดำเนินกิจการโรงเรียนในระบบสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ทางโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ จึงได้จัดทำตราสารจัดตั้งโรงเรียนนิติบุคคล เพื่อเป็นหลักในการบริหารงานโดยใช้ชื่อตราสารนี้ว่า “ตราสารจัดตั้งนิติบุคคลโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ” ดังนั้น สำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนได้พิจารณา และเห็นชอบการใช้ตราสารดังกล่าว ตามเอกสาร ที่ ศธ ๐๒๑๑.๗/๗๐๙๙ เรื่อง ตราสารจัดตั้ง ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554
- เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ เพื่อไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยแต่งตั้ง ภราดาอรุณ เมธเศรษฐ รองผู้อำนวยการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทน
- เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ และภราดาวิจารณ์ แสงหาญ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ/ผู้จัดการ
- โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หน่วยงานต้นสังกัด และเมื่อวันที่ 20–22 มกราคม พ.ศ. 2557 โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ.
- โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนฯ ตามเอกสาร (อช.3) เลขที่ใบอนุญาต กอ. 250/2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เรื่อง “ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา ส่วนที่ 2 หลักสูตรวิธีการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลการศึกษา” โดยให้สถานศึกษาใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ของกระทรวงศึกษาธิการ (พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป
- โรงเรียนได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงาน
โดยมีผู้บริหารมืออาชีพ นายสุรชัย สิทธิชัยวิจิตร เข้ามาบริหารงาน - วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการทางด้านส่งนักเรียนระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 2 เข้าฝึกงาน โครงการหลักสูตร ACC Business Prep School กับ 10 บริษัท ดังนี้
- บริษัท ทอมโก้ ออโตเมติก แมชชินเนอร์รี่ จำกัด
- บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ธารธนา จำกัด
- บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีพโคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล กรุ๊ป จำกัด
- บริษัท ฟาติมา อาร์ บี ดี เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท โมเดอร์ฟอร์ม กร๊ป จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เวเบอร์มาร์คกิ้ง ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท ศรีไทย ซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เอเชียโกลเด้นไรซ์ จำกัด
- เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 ภราดาวิหาร ศรีหาพล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ภราดาวิจารณ์ แสงหาญ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ และ
ภราดา ดร.พีระนันท์ นัมคณิสรณ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษางานอภิบาล
และงานกิจการนักเรียน - มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานจาก 6 ฝ่าย เป็น 4 ฝ่าย ดังนี้
- สำนักผู้อำนวยการ
- ฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วย ฝ่ายวิชาการ และฝ่ายกิจการนักเรียน
- ฝ่ายการเงินและบัญชี
- ฝ่ายบริหารทั่วไป ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารทั่วไป และฝ่ายธุรการและทะเบียน
- ได้รับผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับคุณภาพดีมาก ประจำปี พ.ศ. 2558
จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558
- ภราดาวิหาร ศรีหาพล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
และผู้จัดการ - ภราดา ดร.พีระนันท์ นัมคณิสรณ์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ
และที่ปรึกษางานกิจการนักเรียนและงานอภิบาล - ได้เปิดแผนการเรียนภาษาจีน (โปรแกรม C) เป็นปีแรก
- ภราดาวิหาร ศรีหาพล ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการและผู้จัดการ
และผู้จัดการ - ภราดา ดร. พีระนันท์ นัมคณิสรณ์ ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการและที่ปรึกษาด้านกิจการนักเรียน
- โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการครบรอบ 80 ปี
มีกิจกรรมพิเศษเพื่อการสถาปนาโรงเรียน ได้แก่- งานแถลงข่าวฉลองครบรอบ 80 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
- พิธีบูชาขอบพระคุณในโอกาส ปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี โดย ฯพณฯ พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่
- จัดเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ อยากประสบความสำเร็จ “บริหารธุรกิจ” ต้องเรียนต่อที่ไหน
- กิจกรรมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 81 รูป
- กิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล ACC WALK&RUN 2018 ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย โครงการ "เรียนโกะ เก่งงาน รู้จัดการชีวิต" รุ่น 2 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการกับมหาวิทยาลัย Southwest University of Political Science and Law เมืองฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ โครงการ “ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน” มีการจัดสร้างหอเกียรติยศ ACC Hall of Fame
จากอดีตถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 7 ทศวรรษ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการก็ยังคงเป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการผลิตนักธุรกิจทั้งชายและหญิง จนเป็นที่ยอมรับของวงการธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ แต่ถึงกระนั้นโรงเรียนก็ยังมุ่งพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อความก้าวหน้าทางการศึกษาของเยาวชนไทยสืบไป